|
พิพิธภัณฑสถานจังหวัดชุมพร |
สถานที่ตั้ง : บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดชุมพร ตำบลนาชะอัง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร |
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดชุมพร จัดนิทรรศการแสดงเรื่องราว ของจังหวัดชุมพร สร้างขึ้นโดย
มีจุดมุ่งหวัง ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดที่มีความทันสมัย ทั้งอุปกรณ์สารสนเทศ เพื่อให้นักท่องเที่ยว ผู้ชมได้รับ
ความรู้ และความเพลิดเพลิน ทำให้ไม่น่าเบื่อ
ชุมพรวันนี้
เป็นการให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลจังหวัดชุมพรในปัจจุบัน
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในชุมพร
แสดงถึงการการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชน หลักฐานที่พบตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์เป็นต้นมา ได้แก่ เครื่องมือหิน เครื่องมือ
โลหะ ภาชนะดินเผา ตลอดจนเครื่องประดับที่ทำจากวัสดุต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการเขียนภาพเขียนสีบริเวณเพิงผาอีกด้วย
วัฒนธรรมเหล่านี้ เป็นผลจากการคิดค้นของกลุ่มชนในสังคมแบบดั้งเดิม ที่ดำรงชีพด้วยการเก็บของป่า ล่าสัตว์หลังจากนั้น
ในช่วงปลายได้พัฒนาความรู้มากขึ้น มีการนำโลหะมาใช้ผลิตเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานเป็นหลัก
แหล่ง อันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างในสังคมและกลุ่มชน นำไปสู่การเป็นกลุ่มชนในช่วงต้นประวัติศาสตร์
พัฒนาการแรกเริ่มประวัติศาสตร์
กล่าวถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชนในชุมพร ช่วงปลายสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนก่อให้เกิดการพัฒนาใน
ชุมชนโบราณ เช่น แหล่งโบราณคดีถ้ำฉานเลน อำเภอทุ่งตะโก แหล่งโบราณคดีชุมชนเมืองท่าเขาสามแก้ว อำเภอเมือง หลักฐานทางโบราณคดีเป็นจำนวนมากได้แสดงถึงความสัมพันธ์กับดินแดนโพ้นทะเลระหว่างซีกโลกตะวันตกและตะวันออก
อาทิ ลูกปัดประเภทต่างๆ ทั้งหิน ทองคำและแก้ว ซึ่งบางชิ้นมีจารึกอักษรปัลลวะ คำว่า “อขิทโร” ซึ่งแปลว่า ความแข็งแรง
ไม่อ่อนแอ
ชุมพรในสมัยประวัติศาสตร์
เมื่อก้าวเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ หลักฐานที่กล่าวถึงชื่อเมืองชุมพร มีเพียงตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราชเท่านั้น
โดยระบุว่า ชุมพรเป็นเมืองบริวารในกลุ่มเมือง 12 นักษัตรของนครศรีธรรมราช และใช้ตราแพะเป็นสัญลักษณ์ของเมือง
ชุมพรกับการเป็นเส้นทางผ่านของพายุไต้ฝุ่น
พายุไต้ฝุ่น "เกย์" สร้างประวัติศาสตร์ไต้ฝุ่นลูกแรกที่รุนแรงที่สุดในรอบ 35 ปี พัดผ่านทะเลอ่าวไทยเข้าสู่ภาคใต้ตอนบน
เข้าถล่ม อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ อ.บางสะพานน้อย อ.บางสะพานใหญ่ นานหนึ่งชั่วโมง ก่อนเคลื่อนตัวลงมาที่ อ.ท่าแซะ
และ อ.ประทิว จ.ชุมพร ลมพายุ ลมฝน และเศษฝุ่น กระหน่ำใส่พื้นที่ฝั่งตะวันออกของ 2 จังหวัดอย่างรุนแรงนาน 4 ชั่วโมง
ง ส่วนความเร็วลมบวกกับความแรงของพายุทำให้เกิดคลื่นสูงในทะเลประมาณ 5-10 เมตร เมื่อซัดเข้าฝั่งสูงประมาณ 1-5
เมตร ทะลักเข้าท่วมตัวเมืองบางส่วน ที่ อ.บางสะพานน้อย และ อ.บางสะพานใหญ่ ทำให้ปะการังเกิดความเสียหาย นับเป็น
ความสูญเสีบครั้งร้ายแรงที่สุดอีกครั้งหนึ่งในประเทศไทย
ชุมพรกับสงครามโลกครั้งที่ 2 และวีรกรรมของยุวชนทหาร
กล่าวถึงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ปากน้ำชุมพร เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ซึ่งในครั้งนั้น
ทหาร ตำรวจ และยุวชนทหาร ได้แสดงวีรกรรมด้วยการต่อสู้กับกองกำลังทหารญี่ปุ่น เพื่อป้องกันเอกราชและปกป้องอธิป
ไตยของชาติต่อมาชาวชุมพรจึงได้สร้างอนุสาวรีย์ยุวชนทหารขึ้นที่สะพานท่านางสังข์ ตำบลบางหมาก อำเภอเมืองชุมพร
จังหวัดชุมพร เพื่อเชิดชูและสดุดีต่อวีรกรรมในครั้งนั้น
ธรรมชาติวิทยาและมรดกดีเด่นของจังหวัดชุมพร
เป็นการกล่าวถึงข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดชุมพรในปัจจุบัน เช่น ที่ตั้ง สภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยา รวม
ทั้งวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ศิลป
วัฒนธรรมประจำท้องถิ่นเมืองชุมพรที่มีความหลากหลาย ประกอบด้วย เพลงพื้นบ้าน อาทิ เพลงนา เพลงบอก เพลงกล่อมเด็ก
นาฏศิลป์ ศิลปะ การแสดงพื้นเมืองดีเด่นของชุมพรและภาคใต้ คือ การเล่นหนังตะลุง หรือหนังลุงในภาษาถิ่นใต้ ประเพณ
ีท้องถิ่นในเทศกาลต่าง ๆ เช่น ประเพณีตรุษจีนสงกรานต์ ประเพณีแห่พระแข่งเรือ ฯลฯ
พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
เป็นการกล่าวถึงประวัติโดยย่อของพระองค์ท่าน เช่น ประวัติราชสกุล ผู้ทรงคุณูปการแก่เมืองชุมพรและกองทัพเรือไทย
ประวัติการก่อตั้งกิจการกองทัพเรือ อันเป็นรากฐานสำคัญต่อการพัฒนากองทัพ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวง
ทหารเรือทรงเป็นที่เคารพของชาวชุมพรเป็นที่รู้จักเรียกขานพระองค์ว่า “เสด็จเตี่ย” ทรงเป็นผู้เชียวชาญในทางการ
แพทย์จนได้รับการขนานนามว่า “หมอพร” จนกระทั่งเมื่อประชวรพระโรคภายในจึงเสด็จไปประทับที่ชายทะเลหาด
ทรายรีทางใต้ของปากน้ำเมืองชุมพร และเป็นที่ประทับในช่วงปลายแห่งพระชนม์ชีพ |
|
|
|
|
ห้องจัดแสดง |
เปิดทุกวันพุธ ถึง อาทิตย์ เวลา 9.00 - 16.00 น. |
|
หยุดวันจันทร์และอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ รวมทั้งวันหยุดชดเชย |
ธรรมเนียมค่าเข้าชม |
คนไทย 20 บาท ชาวต่างประเทศ 100 บาท |
ห้องสมุด |
เปิดให้ผู้สนใจเข้าค้นคว้าได้ตลอดเวลาทำการ |
ร้านขายหนังสือและของที่ระลึกมีหนังสือและของที่ระลึกให้เลือกซื้อได้เป็นจำนวนมาก
|
ติดต่อรายละเอียดที่ี่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชุมพร โทรศัพท์ (077) 504-105 ,504-246 โทรสาร (077) 504-246
|